Spirulina


Spirulina sp.
Phylum Cyanobacteria
Class Cyanophyceae
Order Nostocalas
Family Ocillatoriaceae
Genus Spirulina
ลักษณะ: เซลล์ทรงกระบอกหลายเซลล์เรียงต่อกันเป็นเส้นสายตรง หรือขดเป็นเกลียว หรือ เป็นวง ไม่มีกิ่งก้าน เรียกว่า ไตรโคม ( trichome ) โดยเซลล์มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-12 ไมโครเมตร ( mm) ขนาดความกว้าง ยาว ของไตรโคมขึ้นกับชนิด (Species) ของสาหร่าย และสภาวะแวดล้อมที่สาหร่ายเจริญเติบโต
แหล่งที่พบ: พบในน้ำจืด โดยเฉพาะน้ำที่มีของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมจะพบเสมอ และบางส่วนพบในน้ำทะเล
ประโยชน์: เป็นแหล่งอาหารที่อุดมด้วยโปรตีนซึ่งมีปริมาณสูงถึงร้อยละ 50-70 ของน้ำหนักแห้ง มีคาร์โบไฮเดรตอยู่ประมาณร้อยละ 12-20 มีวิตามินจำพวกเบตาคาโรทีนมากกว่าผักถึง 25 เท่า มีธาตุเหล็กสูงกว่าตับถึง 28 เท่า และเป็นแหล่งรวมของวิตามินบี12 นอกจากนี้สาหร่ายสไปรูลินายังเป็นแหล่งที่มีศักยภาพในการผลิตสารเคมีสำคัญซึ่งพบไม่ค่อยพบในสิ่งมีชีวิตอื่น
สาหร่ายสไปรูลิน่าให้สารอาหารประเภทกรดอะมิโนที่จำเป็นในปริมาณสูงทั้ง 8 ชนิดดังนี้
      1. ไอโซลูซีน (Isoluecine) ที่ช่วยในการเจริญเติบโตพัฒนาการของความทรงจำ และยังใช้ในการสังเคราะห์กรดอะมิโนไม่จำเป็นบางตัวใน
          ร่างกายอีกด้วย
      2. ลูซีน (Luecine) กระตุ้นการทำงานของสมองทำให้กล้ามเนื้อมีกำลังมากขึ้น
      3. ไลซีน (Lysine) เป็นโครงสร้างของเซลล์เม็ดเลือด ที่มีหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย เพิ่มความแข็งแรงให้กับระบบไหลเวียนโลหิต    
           และทำให้การเจริญเติบโตของเซลล์ในร่างกายเป็นไปอย่างปกติ
      4. เมไธโอนีน (Methionine) ช่วยในกระบวนการเผาผลาญไขมันและกรดไขมัน ทำให้ตับมีสุขภาพดี และยังลดความเครียดของสมอง
      5. เฟนินอลานีน (Phynynollanine) ช่วยให้ต่อมไธรอยด์นำไปใช้สร้างไธรอยด์ฮอร์โมนที่ควบคุมพลังงานพื้นฐานของร่างกายที่เรียกว่า  
          BMR
      6. เทรโอนีน (Threonoine) ช่วยให้การทำงานของระบบทางเดินอาหารเป็นปกติ และช่วยให้การดูดซึมสารอาหารเข้าสู่กระแสโลหิต
          เป็นไปได้ด้วยดี
      7. ทริปโตแฟน (Tryptophan) ทำให้ร่างกายสามารถนำเอาวิตามิน B มาใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี ซึ่งส่งผลทำให้ระบบประสาททำงาน
          ได้ดีขึ้น เชื่อว่าให้ผลในการควบคุมอารมณ์และทำให้ใจเย็นลงได้
      8. วาลีน (Valine) กระตุ้นการทำงานของระบบการควบคุมอารมณ์ และการประสานงานการทำงานของระบบกล้ามเนื้อ








ขอบคุณข้อมุลจาก :  ยุวดี พีรพรพิศาล.(2546).สาหร่ายวิทยา (Phycology).ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.เชียงใหม่.
                            : https://www.ku.ac.th/e-magazine/march48/know/spirulina.html




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สาหร่ายสายใบ (porphyra)

Ulva sp.

Laminaria