สาหร่ายพวงองุ่น
Caulerpa lentillifera J. Agardh
Phylum : Chlorophyta
Class : Ulvophyceae
Order : Bryopsidales
Family: Caulerpaceae
Genus : Caulerpa
สาหร่ายพวงองุ่น เป็นสาหร่ายทะเลสีเขียว (green algae) หรือมีชื่อสามัญว่า Sea Grapes หรือ Green Caviar เนื่องจากมีเม็ดกลมและเป็นช่อคล้ายพวงองุ่น หรือคล้ายไข่ปลาคาร์เวียร์ นอกจากนี้ยังมีชื่อ เรียกว่า Lelato, Ararusip, Lato ชาวญี่ปุ่นเรียกสาหร่ายชนิดนี้ว่า umibudo มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Caulerpa lentillifera J. Agardh อยู่ในครอบครัว Caulerpaceae เป็นสาหร่ายที่มีการแพร่กระจายอยู่ในเขต tropical และ subtropical พบได้ในประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย เวียดนามและญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังแพร่กระจาย ไปเขตร้อน ได้แก่ เคนยา มาดากัสการ์ มอริเซียส โมแซมบิก โซมาเลีย อาฟริกาใต้ แทนซาเนียและปาปัวนิวกินี เจริญเติบโตได้ดีในน้ าที่มีสารอาหารบริบูรณ์และแสงแดด มีลักษณะคล้ายองุ่น สีเขียวสด มีคุณค่าทางอาหารสูง จัดเป็นอาหารทะเลที่ส าคัญในญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์ มีทั้งการเก็บเกี่ยวจากธรรมชาติและจากการเลี้ยงในบ่อดิน การเลี้ยงแบบเชิงพาณิชย์ในจังหวัดโอกินา เริ่มต้นในปี 1986 (Trono and Toma, 1993)
⟹ แหล่งที่พบสาหร่ายพวงองุ่น
สาหร่ายพวงองุ่นเป็นสาหร่ายที่อยู่ใต้ท้องทะเลลึก
พบได้ตามโขดหิน ก้อนกรวด และพื้นทรายใต้ท้องทะเลลึก
ซึ่งพื้นที่ที่จะพบสาหร่ายพวงองุ่นได้ก็คือ ประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม
ญี่ปุ่น รวมทั้งในพื้นที่เขตร้อนอย่างเคนยา มาดากัสการ์ โมซัมบิก แทนซาเนีย และปาปัวนิวกินี
⟹ ประโยชน์สาหร่ายพวงองุ่น
⟶ สาหร่ายพวงองุ่นมีสรรพคุณยืนพื้นเหมือนอย่างสาหร่ายจากทะเลน้ำลึกทั่วไป
โดยอุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินหลายชนิด เช่น กรดไขมัน PUFA วิตามินบี 2 วิตามินอี เกลือแร่
และสารอาหารสำคัญอย่างแมกนีเซียม แคลเซียม โพแทสเซียม สังกะสี ไอโอดีน
เบต้าแคโรทีน พร้อมทั้งกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย ชนิดที่หาไม่ได้จากพืชบนบก
⟶ มีปริมาณธาตุแมกนีเซียมสูง
สาหร่ายพวงองุ่นจึงมีคุณสมบัติช่วยลดความดันโลหิต
และป้องกันโรคหัวใจล้มเหลวไปด้วยในตัว
⟶ สาหร่ายพวงองุ่นมาพร้อมกับไอโอดีนที่สูงมาก
ประโยชน์ข้อนี้จึงสามารถป้องกันโรคไทรอยด์
หรือช่วยบรรเทาอาการของผู้ป่วยโรคไทรอยด์ได้
รวมทั้งยังช่วยบำรุงและฟื้นฟูเซลล์ที่ถูกทำลาย จึงช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง
⟶ สาหร่ายก็เป็นพืชชนิดหนึ่งที่มีไฟเบอร์สูง
สรรพคุณในส่วนนี้จึงดีกับผู้ที่ท้องผูกบ่อย ๆ หรือมีความเสี่ยงเป็นโรคริดสีดวงทวาร
ซึ่งสาหร่ายพวงองุ่นจะเข้าไปช่วยกระตุ้นระบบขับถ่าย ทำให้ถ่ายง่ายยิ่งขึ้นนั่นเอง
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.fisheries.go.th/cf-coastal.../การเพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่นเชิงพาณิชย์.pdf
: https://health.kapook.com/view135399.html
: ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเพชรบุรี
จัดทำโดยสาขาวิชาจุลชีววิทยา มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา
: https://health.kapook.com/view135399.html
: ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเพชรบุรี
จัดทำโดยสาขาวิชาจุลชีววิทยา มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น