Ulva sp.

สาหร่ายผักกัดทะเล (Ulva)

 Ulva sp.
Phylum Chlorophyta
Class Chlorophyceae
Order Ulvales
Family Ulvaceae
Genus Ulva
ลักษณะ:  อาจจะเรียกเป็นชื่อสามัญว่า”ผักกาดทะเล” (sea lettuce) เพราะว่ามีลักษณะของทัลลัสบางและแผ่กว้างคล้ายใบผักกาด มีความหนา 2 ชั้นของเซลล์ เมื่องอกใหม่ๆ จะมีเซลล์เรียงกันเป็นแถว ต่อมาเกิดการแบ่งเซลล์หลายแถว และเกิดเป็นเซลล์ 2 ชั้นคล้ายใน Enteromorpha แต่ในจีนัสนี้เซลล์ทั้ง 2 ชั้น จะไม่แยกจากกัน จึงไม่เป็นท่อกลวงเหมือน Enteromorpha แต่จะแผ่เป็นแผ่นแบน ตรงขอบจะมีรอยหยักเกาะติดกับพื้นโดยใช้ไรซอยด์ ซึ่งมีลักษณะโปร่งเป็นแผ่นเกาะติดกับพื้น
แหล่งที่พบ: มักขึ้นตามฤดูกาลและพบในบริเวณน้ำลงต่ำสุด นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า พบสาหร่ายผักกาดทะเลขึ้นตามชายฝั่งทะเลของจังหวัดภูเก็ต โดยเฉพาะในพื้นที่แหล่งหญ้าทะเลที่มีสาหร่ายชนิดนี้ขึ้นปะปนอยู่หรือหลุดลอยตามผิวน้ำเคลือบทับบนหญ้าทะเล
ประโยชน์: มีคุณสมบัติทั่วไป เช่นเดียวกับพืชบกที่มีโปรตีนและไขมันไม่มากนัก มีแคลเซียมต่ำ แต่กลับมีกากใยอาหารสูง คุณค่าทางอาหารที่แตกต่างจากพืชบก คือสาหร่ายทะเล จะมีปริมาณวิตามินและเกลือแร่สูง เช่น วิตามิน  A  B  C  D  E และ K แร่ธาตุแมกนีเซียม แคลเซียม สังกะสี  ทองแดง  เหล็ก ไอโอดีน เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นพวกที่ร่างกายมนุษย์ต้องการแทบทั้งสิ้น  และการที่สาหร่ายผักกาดทะเลมีกากใยสูงถึง  33-75%  ของน้ำหนักแห้งส่งผลให้การขับถ่ายสะดวก ป้องกันท้องผูกและเกิดริดสีดวงทวาร ได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเมนูจากธรรมชาติที่มีคุณค่าต่อสุขภาพ  เช่น สาหร่ายเทมปุระ สลัดสาหร่าย  สาหร่ายชุบแป้งทอด และสามารถใช้ในการบำบัดน้ำเสียและใช้เป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (Bioindicators) ในแหล่งน้ำธรรมชาติได้กล่าวคือ หากมีสาหร่ายชนิดนี้มากในแหล่งน้ำแสดงว่า ในแหล่งน้ำดังกล่าวมีความอุดมสมบูรณ์ของสารอาหารมาก เช่น พวกไนโตรเจน และฟอสเฟต ในทางกลับกันหากสาหร่ายลดจำนวนลงก็จะบ่งชี้ได้ว่าแหล่งน้ำกำลังประสบปัญหาการปนเปื้อน จนทำให้สาหร่ายผักกาดทะเลไม่สามารถเจริญเติบโตได้








ขอบคุณข้อมูลจาก  : ยุวดี พีรพรพิศาล.(2546).สาหร่ายวิทยา (Phycology).ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.เชียงใหม่.
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเขต 6 (สงขลา)
                               :http://www.uniprot.org/taxonomy/63410

จัดทำโดยสาขาวิชาจุลชีววิทยา มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สาหร่ายสายใบ (porphyra)

Laminaria