สาหร่ายสายใบ (porphyra)


 สาหร่ายสายใบ(porphyra)


               Porphyra spp.
Phylum Rhodophyta
Class Rhodophyceae
Order Bangiales
Family Bangiaceae
Genus Porphyra
ลักษณะ: เป็นสาหร่ายที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ”สายใบ” หรือ โนริ (ภาษาญี่ปุ่น) หรือ จีฉาย (ภาษาจีน) ทัลลัสเจริญจากโฮลด์ฟาส มีความหนาของทัลลัส 1-2 ชั้น มีคลอโรพลาสต์รูปดาวสีชมพู มีไพรินอยด์ 1 อัน มีเมือกเคลือบอยู่บนทัลลัส ทัลลัสที่เป็นแกมมีโทไฟต์จะมีลักษณะแบนบางขนาดใหญ่ ซึ่งทัลลัสนี้จะมีเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างโมโนสปอร์ซึ่งจะสามารถงอกเป็นทัลลัสแผ่นแบนบางได้อีก จัดเป็นการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ส่วนการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศจะสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ ซึ่งคือ สเปอร์มาเทียมจำนวนมากที่ขอบของทัลลัส ในระยะนี้จะมีสีซีดจาง เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ดังกล่าวสร้างจากเซลล์ธรรมดา ส่วนเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียหรือคาร์โปโกเนียมจะสร้างจากเซลล์บริเวณขอบทัลลัสเช่นกัน โดยจะมีขนาดใหญ่ขึ้นและมีลักษณะเป็นถุงรูปรี บริเวณปลายเซลล์ซึ่งอยู่ติดกับเซลล์ทัลลัสจะมีคอเล็กๆ สำหรับให้สเปอร์มาเทียบมาเกาะเมื่อสเปอร์มาเทียมผสมกับคาร์โปโกเนียมได้เป็นไซโกตแล้ว จะแบ่งตัวแบบไมโตซิสให้คาร์โปเปอร์จำนวนมาก ซึ่งเมื่อปล่อยออกมาจากทัลลัสแล้วจะไปเกาะอยู่ตามเปลือกหอยที่ตายแล้วและงอกออกมาเป็นเส้นใยเล็กๆที่เรียกว่าคอนเซลิส ฟิลาเมนต์ (conchocelis filament) ระยะนี้เรียกว่าระยะคอนโคเซลิส (conchocelis stage) ซึ่งเป็นระยะพักตัวของสาหร่ายชนิดนี้ อาจใช้เวลาหลายเดือนจนกระทั่งอุณหภูมิลดลงและสิ่งแวดล้อมเหมาะสมจะสร้างคอนโคสปอแรงเจียม (conchosporangium) และคอนโคสปอร์ (conchospore) ต่อไป ช่วงที่สร้างคอนโคสปอร์มีการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส คอนโคสปอร์จะหลุดออกจากเปลือกหอยไปงอกเป็นทัลลัสใหม่ต่อไป
แหล่งที่พบ: บริเวณที่น้ำขึ้นลง และส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ทะเลระหว่างเขตหนาวและร้อน ในประเทศไทยพบบางจังหวัดในภาคใต้ ได้แก่ สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ประจวบคีรีขันธ์ และพังงา
ประโยชน์: มีคุณค่าทางอาหารสูง มีปริมาณโปรตีนสูง และอุดมไปด้วยวิตามินบี และซี  พอไฟราจะจําหน่ายในรูปของผลิตภัณฑ์ที่เป็นแผ่นแห้ง ซึ่งอาจนํามาย่างไฟให้เกิดกลิ่นหอมก่อนนําไปปรุงอาหาร เช่น ใส่ในนํ้าซุปหรือซอสต่างๆ โดยอาหารที่รู้จักกนเป็นอย่างดี คือ สาหร่ายที่ใช้ห่อข้าวในข้าวห่อสาหร่าย (Sushi) ซึ่งเป็นอาหารญี่ปุ่นที่นิยมบริโภคกนทั่วไป เนื่องจากสาหร่ายจะมีรสเค็มตามธรรมชาติอยู่แล้ว เมื่อนํามาปรุงรส จะทําให้ปริมาณโซเดียมเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ร่างกายได้รับไอโอดีนมากเกินความต้องการและส่งผลให้ต่อมไทรอยด์ทํางานผิดปกติ






ขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.graphicsbuzz.com/graphics/porphyra-laciniata-graphics-e6ae22.html
                    :ยุวดี พีรพรพิศาล.(2546).สาหร่ายวิทยา (Phycology).ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.เชียงใหม่.
                    :สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมวิทยาศาสตร์บริการ.(2558).ประมวลสารสนเทศพร้อมใช้:สาหร่าย.
                              : ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเขต 6 (สงขลา)
จัดทำโดยสาขาวิชาจุลชีววิทยา มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Ulva sp.

Laminaria