บทความ

สาหร่ายพวงองุ่น

รูปภาพ
      Caulerpa lentillifera J. Agardh Phylum : Chlorophyta Class  : Ulvophyceae Order :  Bryopsidales Family :  Caulerpaceae Genus : Caulerpa    สาหร่ายพวงองุ่น เป็นสาหร่ายทะเลสีเขียว ( green algae) หรือมีชื่อสามัญว่า Sea Grapes หรือ Green Caviar เนื่องจากมีเม็ดกลมและเป็นช่อคล้ายพวงองุ่น หรือคล้ายไข่ปลาคาร์เวียร์ นอกจากนี้ยังมีชื่อ เรียกว่า Lelato, Ararusip, Lato ชาวญี่ปุ่นเรียกสาหร่ายชนิดนี้ว่า umibudo มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Caulerpa lentillifera J. Agardh อยู่ในครอบครัว Caulerpaceae เป็นสาหร่ายที่มีการแพร่กระจายอยู่ในเขต tropical และ subtropical พบได้ในประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย เวียดนามและญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังแพร่กระจาย ไปเขตร้อน ได้แก่ เคนยา มาดากัสการ์ มอริเซียส โมแซมบิก โซมาเลีย อาฟริกาใต้ แทนซาเนียและปาปัวนิวกินี เจริญเติบโตได้ดีในน้ าที่มีสารอาหารบริบูรณ์และแสงแดด มีลักษณะคล้ายองุ่น สีเขียวสด มีคุณค่าทางอาหารสูง จัดเป็นอาหารทะเลที่ส าคัญในญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์ มีทั้งการเก็บเกี่ยวจากธรรมชาติและจากการเลี้ยงในบ่อดิน การเลี้ยงแบบเชิงพาณิชย์ในจังหวัดโอกินา

Spirulina

รูปภาพ
Spirulina sp. Phylum Cyanobacteria Class Cyanophyceae Order Nostocalas Family Ocillatoriaceae Genus Spirulina ลักษณะ : เซลล์ทรงกระบอกหลายเซลล์เรียงต่อกันเป็นเส้นสายตรง หรือขดเป็นเกลียว หรือ เป็นวง ไม่มีกิ่งก้าน เรียกว่า ไตรโคม ( trichome ) โดยเซลล์มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-12 ไมโครเมตร ( mm) ขนาดความกว้าง ยาว ของไตรโคมขึ้นกับชนิด ( Species) ของสาหร่าย และสภาวะแวดล้อมที่สาหร่ายเจริญเติบโต แหล่งที่พบ : พบในน้ำจืด โดยเฉพาะน้ำที่มีของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมจะพบเสมอ และบางส่วนพบในน้ำทะเล ประโยชน์ : เป็นแหล่งอาหารที่อุดมด้วยโปรตีนซึ่งมีปริมาณสูงถึงร้อยละ 50-70 ของน้ำหนักแห้ง มีคาร์โบไฮเดรตอยู่ประมาณร้อยละ 12-20 มีวิตามินจำพวกเบตาคาโรทีนมากกว่าผักถึง 25 เท่า มีธาตุเหล็กสูงกว่าตับถึง 28 เท่า และเป็นแหล่งรวมของวิตามินบี 1 2 นอกจากนี้สาหร่ายสไปรูลินายังเป็นแหล่งที่มีศักยภาพในการผลิตสารเคมีสำคัญซึ่งพบไม่ค่อยพบในสิ่งมีชีวิตอื่น สาหร่ายสไปรูลิน่าให้สารอาหารประเภทกรดอะมิโนที่จำเป็นในปริมาณสูงทั้ง 8 ชนิดดังนี้       1. ไอโซลูซีน ( Isoluecine) ที่ช่วยในการเจริญเต

Asparagopsis

รูปภาพ
Asparagopsis เพิ่มคำอธิบายภาพ   Asparagopsis sp. Phylum   Rhodophyta Class   Rhodophyceae Order   Bonnemaisoniales Family   Bonnemaisoniaceae Genus   Asparagopsis ลักษณะ : ส่วนทัลลัสเจริญคืบคลานยึดเกาะกับซากปะการัง หรือวัสดุยึดเกาะอื่นๆ เช่น สาหร่ายทะเลชนิดอื่น มีส่วนที่ตั้งตรงขึ้นมาและแตกแขนงหลายชั้น จนมีลักษณะเป็นพุ่มมีความสูง 3-8 เซนติเมตร และอาจพบสูงถึง 20 เซนติเมตร ตัวอย่างต้นสาหร่ายที่พบ เป็นต้นในระยะ gametangial phase ซึ่งจะผลิตเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเมีย ส่วนต้นในระยะ sporangial phase จะมีรูปร่างเป็นเส้นสาย ซึ่งแตกต่างจากต้นที่เห็นที่เกาะไข่ สีมีสีชมพูเข้ม ส้มอมชมพู และแดงเข้ม แหล่งที่พบ : เป็นสาหร่ายที่พบแพร่การะจายเป็นแนวกว้างบริเวณแนวปะการังฟอกขาว ซึ่งในประเทศไทยเคยมีผู้รายงานแล้ว แต่พบเป็น epiphyte บนสาหร่ายทะเลชนิดอื่น มีการรายงานพบว่าสามารถเจริญดีบนซากปะการังที่ประเทศเวียดนาม ประโยชน์ :   สาหร่ายชนิดนี้ ที่ฮาวายเรียกว่า limukohu นิยมนำมาใช้เป็นอาหารผสมเป็นส่วนประกอบในอาหารต่างๆ มีราคาแพง เวลาเก็บเกี่ยว ชาวฮาวายจะเก็บเฉพาะส่วนที่เป็นพุ่มและเหลือส่วน

Gelidiella

รูปภาพ
Gelidiella sp. Phylum:  Rhodophyta Class :  Rhodophycea e Order  :  Gelidiales Family :  Gelidiaceae Genus : Gelidiella ลักษณะ : ทัลลัสมีลักษณะมีการแตกแขนงแบบขนนก มีลักษณะเป็นพุ่ม ทัลลัสอวบน้ำ ในชั้นเมดดูลลาไม่มีไรซอยด์ ฟิลาเมนต์แทรกอยู่ สีของทัลลัสเป็นสีชมพู แดง หรือแดงเข้ม แหล่งที่พบ : มักเจริญอยู่บริเวณในทะเลบริเวณน้ำตื้นในเขตอบอุ่นมากกว่าในเขตร้อน ประโยชน์ : มีปริมาณไขมันน้อยมาก และมีโปรตีน แป้ง เส้นใย ไอโอดีนและวิตามินเอ เป็นองค์ประกอบ มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเนื่องจากผนังเซลล์มีสารโพลีแซคคาไรด์ประเภทวุ้น ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท ขอบคุณข้อมูลจาก  : http://www1a.biotec.or.th/BRT/index.php/biodiversity/283-seaweeds-useful                      :  http://www.adaderana.lk/news.php?nid=9756                    :  ยุวดี พีรพรพิศาล.( 2546). สาหร่ายวิทยา ( Phycology) . ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.เชียงใหม่.                    :  สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมวิทยาศาสตร์บริการ .(2558). ประมวลสาร

Caulerpa

รูปภาพ
            Caulerpa             Caulerpa sp. Phylum: Chlorophyta Class:  Chlorophyceae Order:  Caulerpalrs Family: Caulerpaceae Genus: Caulerpa ลักษณะ : เป็นสาหร่ายทะเลขึ้นอยู่ในบริเวณเขตร้อน ทัลลัสประกอบด้วยท่อติดต่อกันตลอดมีไรซอยด์เป็นฝอยทำหน้าที่ยึดกับพื้นทรายหรือสิ่งยึดเกาะอื่น ส่วนของไรซอยด์มีการทอดแขนงออกไปคล้ายไรโซม (rhizome) เป็นระยะๆ ส่วนที่มีลักษณะเหมือนใบ ซึ่งทำหน้าที่สังเคราะห์แสง เรียกว่า รามูลัส ( ramulus ) มีรูปร่างต่างกัน อาจเป็นก้านยาวรี กลม แบน หรือเป็นเส้นคล้ายขนนกขึ้นอยู่กับแต่ละชนิด  ส่วนนี้มีสีเขียวใส สาหร่ายชนิดนี้มองดูคล้ายพวงองุ่นที่ขึ้นกันเป็นกระจุก จึงมีชื่อสามัญว่า สาหร่ายพวงองุ่น แหล่งที่พบ : พบได้ในประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ญี่ปุ่น สําหรับประเทศไทยจะเจริญตามแนวชายฝั่งอันดามัน ประโยชน์ : มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะโปรตีน มีวิตามินหลายชนิด อุดมด้วยแร่ธาตุและไอโอดีน ชาวบ้านนิยมนํามาทําเป็นอาหารจําพวกยํา ผัด ต้มจิ้มนํ้าพริก นอกจากนี้ยังเป็นที่นิยมรับประทานในหมู่ชาวฟิลิปปินส์ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น โดยรับประทา

Ulva sp.

รูปภาพ
สาหร่ายผักกัดทะเล  ( Ulva )   Ulva sp. Phylum Chlorophyta Class Chlorophyceae Order Ulvales Family Ulvaceae Genus Ulva ลักษณะ :   อาจจะเรียกเป็นชื่อสามัญว่า”ผักกาดทะเล” ( sea lettuce ) เพราะว่ามีลักษณะของทัลลัสบางและแผ่กว้างคล้ายใบผักกาด มีความหนา 2 ชั้นของเซลล์ เมื่องอกใหม่ๆ จะมีเซลล์เรียงกันเป็นแถว ต่อมาเกิดการแบ่งเซลล์หลายแถว และเกิดเป็นเซลล์ 2 ชั้นคล้ายใน Enteromorpha แต่ในจีนัสนี้เซลล์ทั้ง 2 ชั้น จะไม่แยกจากกัน จึงไม่เป็นท่อกลวงเหมือน Enteromorpha แต่จะแผ่เป็นแผ่นแบน ตรงขอบจะมีรอยหยักเกาะติดกับพื้นโดยใช้ไรซอยด์ ซึ่งมีลักษณะโปร่งเป็นแผ่นเกาะติดกับพื้น แหล่งที่พบ : มักขึ้นตามฤดูกาลและพบในบริเวณน้ำลงต่ำสุด นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า พบสาหร่ายผักกาดทะเลขึ้นตามชายฝั่งทะเลของจังหวัดภูเก็ต โดยเฉพาะในพื้นที่แหล่งหญ้าทะเลที่มีสาหร่ายชนิดนี้ขึ้นปะปนอยู่หรือหลุดลอยตามผิวน้ำเคลือบทับบนหญ้าทะเล ประโยชน์ : มีคุณสมบัติทั่วไป เช่นเดียวกับพืชบกที่มีโปรตีนและไขมันไม่มากนัก มีแคลเซียมต่ำ แต่กลับมีกากใยอาหารสูง คุณค่าทางอาหารที่แตกต่างจากพืชบก คือสาหร่ายทะเล จะมีปริมาณวิตามิน

Eucheuma

รูปภาพ
Eucheuma             Eucheuma sp. Phylum Rhodophyta Class Rhodophyceae Order Gigartinales Family Solieriaceae Genus Eucheuma ลักษณะ : สาหร่ายในจีนัสนี้มีการแตกแขนงออกเป็น 2 ข้าง แบบสลับ มีการแตกแขนงมากจนมีลักษณะเป็นพุ่ม มีลักษณะพิเศษคือทัลลัสมีหนามยื่นออกมาโดยรอบมองเห็นชัด ทัลลัสที่เป็น gametophyte สร้างซิสโตคาร์ปที่มีก้านยาวยื่นออกมาจากทัลลัส ส่วนทัลลัสที่เป็นสปอโรไฟต์เตตราสปอร์มีการแบ่งเซลล์แบบโซเนต แหล่งที่พบ : พบในมหาสมุทรอินเดียและทะเลในเขตร้อน ประโยชน์ :                           อาหารสัตว์             → ปลาป่น             →อาหารสัตว์ / อาหารสัตว์             →อาหารที่ไม่มีกระดูกสันหลัง                     สิ่งแวดล้อม            → revegetation            →ที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า                    เชื้อเพลิง           → เชื้อเพลิงชีวภาพ                    ทั่วไป          → การใช้ห้องปฏิบัติการ          →แบบจำลองการวิจัย                    อาหารและเครื่องดื่มของมนุษย์          →อาหารฉุกเฉิน (อดอยาก)          →แป้ง / แป้ง